เครือข่าย
หลังจากการทำงานของกลุ่มในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ทำให้เกิดกลุ่มละครในระดับชุมชนในหลายพื้นที่ อีกทั้งกลุ่มยังได้เสริมสร้างสนับสนุนและประสานพลังกับกลุ่มละครและกลุ่มสื่อวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มเห็นคุณค่าของพลังของสื่อระดับชุมชนจึงได้ริเริ่มชักชวนกลุ่มต่างๆ ให้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายในปี 2547 นอกจากนี้แล้วทางกลุ่มยังได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆ อีกทั้งในและต่างประเทศ

พันธกิจ 3

เพื่อสนับสนุนหรือประสานพลังขบวนภาคประชาชน หน่วยงานพันธมิตร หรือเพื่อการปฏิบัติงานผลักดันนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ ทั้งระดับประเทศหรือสากล

ประเภท
1. เครือข่ายละครชุมชน Community theatre network
2. เครือข่ายกลุ่มสื่อวัฒนธรรมชุมชน Media culture groups
3. เครือข่ายอื่นๆ Others network

 

เครือข่ายละครชุมชน

การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงของโลกส่งผลให้ชุมชนได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ และจากความเชื่อ ที่ว่าคนในชุมชนมีศักยภาพความสามารถที่จัดการหรือสร้างค่านิยมความหมายใหม่ได้ด้วยตนเอง “สื่อ” จึงนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่เข้ามามีบทบาทโดยเฉพาะการสื่อสารแนวราบของคนในชุมชนเอง ที่ผ่านมาทางกลุ่มได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ เช่น โรงเรียน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรท้องถิ่นในชุมชน จัดฝึกอบรมทักษะการละคร หรือทักษะศิลปะแขนงต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนให้นำสื่อวัฒนธรรมท้องถิ่นมา ปรับประยุกต์สร้างสรรค์กับงานศิลปการละครและงานศิลปะรูปแบบใหม่ดังกล่าว เป็นการเคารพและสืบทอดสิทธิทาง วัฒนธรรมความเชื่อของคนในชุมชน เป็นการยกระดับผลงานและขบวนขับเคลื่อนของสื่อภาคประชาชน กลุ่มสื่อหรือกลุ่มละครใหม่ๆ ในชุมชนโดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและในประเทศลาวได้มีเครื่องมือ สื่อทางเลือกในรูปแบบที่หลากหลายเพิ่มขึ้นใช้สื่อสารระหว่างเด็กเยาวชนในโรงเรียน ชุมชน หรือสังคม ด้วยแต่ละกลุ่มเห็นความสำคัญของการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่ายพันธมิตร ดังนั้น “เครือข่ายละครชุมชน” จึงได้เกิดขึ้น เพื่อสื่อสารในวิถีทางอย่างสร้างสรรค์เป็นพลังร่วมกัน

วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพลังการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชนและชุมชนท้องถิ่นตามหลักสิทธิมนุษยชน ในการขยายพื้นที่ทางสังคมของสื่อภาคประชาชนระดับชุมชนโดยการขับเคลื่อนของเครือข่ายละครชุมชน

กิจกรรม
สร้างพื้นที่การเรียนรู้แลกเปลี่ยนสนับสนุนทักษะความสามารถการใช้สื่อศิลปะและวัฒนธรรมและการละครในการทำงานชุมชน
รณรงค์ประเด็นทางสังคมร่วมกันระหว่างเครือข่ายละครชุมชนและเครือข่ายพันธมิตรอื่นๆ

ปีที่ก่อตั้ง
ชื่อกลุ่มละคร / หน่วยงาน
ที่อยู่
2539
กั๊บไฟ / ละครชุมชน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
2541
ข้าวจ ี่/ ศูนย์เพื่อน้องหญิง อ.พาน จ.เชียงราย
2546
นานา / มูลนิธิบ้านนานา อ.แม่สาย จ.เชียงราย
2548
ต้นข้าว / มูลนิธิพัฒนาประชาชนที่สูง อ.เมือง จ.เชียงราย
2545
ตั๊กแตนเสียงใส / ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
2542
แต้มฝัน / มูลนิธิรักษ์ไท อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
2545
กิ่งไผ่ / โรงเรียนบ้านคาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
2546
FLAME เปลวไฟ / Save the children Australia Phonsavanh Newa ,SiSattanark ,Vientiane

 
   
 

สื่อวัฒนธรรมชุมชน

ก่อนที่กลุ่มจะเริ่มการทำงานในชุมชน ได้เข้าไปจัดแสดงละครเร่และต่อมาก็เข้าไปสอนการแสดงละคร และทักษะชีวิตให้กับเด็กๆ ในโรงเรียน เมื่อพัฒนาการของเด็กเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีชาวบ้านพ่อแม่ผู้ปกครอง เริ่มมั่นใจและไว้วางใจ ว่าทางกลุ่มไม่เป็นพิษเป็นภัย และเมื่อใช้กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์เข้าไปตอกย้ำ ยิ่งก่อให้เกิด ความรู้สึกของชุมชนที่ดีขึ้นตามมา ในกระบวนการหนึ่งที่ทำงานร่วมกับเด็กหลายครั้งจะต้องสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ เช่นการสำรวจหาชาวบ้านนักปราชญ์ที่มีความสามารถในด้านวัฒนธรรมภูมิปัญญาสาขาต่างๆ เมื่อค้นพบก็จะ ประสานเชิญชวนหรือสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน พลังและความมั่นใจจึงถ่ายเทระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เด็กและศิลปินพื้นบ้านได้ทำงานร่วมกัน แต่เด็กหรือลูกหลานเมื่อโตขึ้นหลายคนต้องออกหมู่บ้านไปเผชิญโลกภายนอก บางตนประสพความสำเร็จแต่บางคนล้มเหลว ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงอยู่ และไม่อยากเห็นภาพที่ลูกหลานถูกเอา รัดเอาเปรียบหรือถูกละเมิดสิทธิจากสังคมภายนอก ประกอบกับทางกลุ่มได้มีการทำงานเสริมกระบวนการเรียนรู้ทาง เลือกใหม่ๆร่วมกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มสื่อวัฒนธรรม กลุ่มแกนนำชาวบ้านดังกล่าวได้ปฏิวัติตนเองสู่การทำงานเพื่อ ปกป้องป้องกันคุ้มครองเด็ก หรือสิทธิของชุมชนด้วยเครื่องมือสื่อวัฒนธรรมที่ตนเองถนัดและที่สอดคล้องกับบริบท ภาษาหรือความเชื่อ ซึ่งเป็นการสืบสานงานวัฒนธรรมดั้งเดิมให้คงอยู่ พร้อมกับทำหน้าที่เป็นสื่อรับใช้ เรื่องราว ของชุมชนในยุคปัจจุบัน ผู้ชมจะได้ประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาที่มีความงามทั้งทางด้านการแสดง การร่ายรำ การร้อง และดนตรี ตอบสนองต่อจิตวิญญาณ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี ซึ่งบรรยากาศ การแสดงรูปแบบนี้นับวันจะหาชมได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานพัฒนารูปแบบเก่าที่ใหม่ที่ได้เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนสื่อวัฒนธรรมชุมชนในการทำหน้าที่รณรงค์สร้างความตระหนักรู้หรือ เพื่อการแก้ไขปัญหาในประเด็นทางสังคมที่มีผลกระทบต่อชุมชน

กิจกรรม
จัดประชุม , อบรมเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ หรือทักษะความรู้ใหม่ๆที่กลุ่มศิลปินต้องการ
สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดแผนการทำงานระดับชุมชน เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือเพื่อให้เกิดการทำงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในชุมชนด้วยการใช้ศิลปวัฒนธรรม (ชุมชนฮักละอ่อนและแม่หญิง)
สนับสนุนให้เกิดการจัดกระบวนการถ่ายทอดประสบการณ์ทักษะ ความสามารถ หรือสร้างพื้นที่เรียนรู้ภายในชุมชน หรือให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มศิลปินด้วยกัน (กาดม่วนใจ๋)

ปีที่ร่วมงาน
ชื่อกลุ่ม
ที่อยู่
2547
กลุ่มวัฒนธรรมกิ่งกะหร่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
2548
กลุ่มยอดแซงแลงใหม่ จ้าดไต อ.เวียงแหง จ.ชียงใหม่
  กลุ่มเสียงแซงไต อ.เวียงแหง จ.ชียงใหม่
  กลุ่มวัดฟ้าเวียงอินทร์ อ.เวียงแหง จ.ชียงใหม่
  กลุ่มวัฒนธรรมผาคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย


 
   
 

ภาคี เครือข่ายอื่นๆ

การทำงานในปัจจุบันไม่สามารถทำงานได้ตามลำพังจำเป็นต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายจึงจะมีโอกาสสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องการการหนุนเสริมพลังและมีการทำงานร่วมกัน เนื่องจากกลุ่มเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เห็นความสำคัญ ดังกล่าวจึงได้ร่วมกับพันธมิตรและภาคประชาสังคมในรูปแบบภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคีต่อต้านการเด็กและหญิงประเทศไทย(ภคท.,CTWT) , ภาคีสามพรานต้านการค้ามนุษย์ , Global alliance against trafficking in woman (GAATW) , เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ , เครือข่ายเพื่อแผ่นดินและสันติภาพ (NEP), เครือข่ายสื่อภาคประชาชน , South east Asia popular communication program (SEAPCP) เป็นต้น ภาคีเครือข่ายเหล่านี้จะมีแนวทางหรือพันธกิจที่อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มีจุดร่วมที่ตรงกันคือเพื่อเสริมพลังอำนาจให้กับภาคประชาชนกลุ่มต่างๆที่ยังขาดโอกาส โดยการร่วมผลักดันนโยบายภาคประชาชนสู่ภาค รัฐบาล เพื่อให้ครอบคลุมทั่วถึงเท่าเทียมและเป็นธรรม และมีผลบังคับใช้ได้จริง ไม่เลือกปฏิบัติ หรือเพื่อให้เกิด สังคมแห่งสันติสุข

ภคท.
Asia acts
สามพราน
NEP
SEAPCP

 

HOME    |     ABOUT US    |    NEWS    |     ACTIVITIES     |     CONTACT US

  Copyright©2011.Gabfai. All rights. Reserved